TH I EN

 
ประวัติพระราชวังเดิม

 
 

ภายหลังจากที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงกอบกู้เอกราชจากพม่าได้สำเร็จในปี พ.ศ.2310 พระองค์ได้ทรงเลือกกรุงธนบุรีเป็นราชธานีแห่งใหม่แทนกรุงศรีอยุธยาที่อยู่ในสภาพทรุดโทรมจนไม่สามารถบูรณะให้กลับมาสู่สภาพเดิมได้ การที่ทรงเลือกกรุงธนบุรีเป็นราชธานีนั้น สันนิษฐานว่าเนื่องจากเป็นเมืองขนาดเล็ก เหมาะสมกับกำลังไพร่พลที่พระองค์มีอยู่ในขณะนั้น ทั้งยังเป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญ อยู่ใกล้ทะเลทำให้สามารถควบคุม เส้นทางเดินเรือเข้าออก มีป้อมปราการเป็นชัยภูมิที่ดี และตั้งอยู่ใกล้ปากแม่น้ำหากเพลี่ยงพล้ำก็สามารถหลบหลีกศัตรูออกสู่ทะเลได้สะดวก หลังจากนั้นจึงโปรดเกล้าฯให้สร้างพระราชวังหลวง ขึ้นทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาในพื้นที่ที่เคยเป็นที่ตั้งของป้อมวิไชยเยนทร์เดิม (ซึ่งภายหลังได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็นป้อมวิไชยประสิทธิ์)

อาณาเขตของพระราชวังเดิมในสมัยนั้นมีพื้นที่ตั้งแต่ป้อมวิไชยประสิทธิ์ขึ้นมาจนถึงคลองเหนือวัดอรุณราชวราราม(คลองนครบาล) โดยรวมวัดแจ้ง(วัดอรุณราชวราราม) และวัดท้ายตลาด(วัดโมลีโลกยาราม) เข้าไปในเขตพระราชวังต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ ได้ทรงย้ายราชธานีมาอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา และได้ทรงสร้างพระบรม มหาราชวังขึ้นเป็นที่ประทับ พระราชวังกรุงธนบุรีจึงได้รับการเรียกขานว่า "พระราชวังเดิม" นับแต่นั้นมา

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงกำหนดเขตของพระราชวังกรุงธนบุรีให้แคบกว่าเดิม โดยให้วัดทั้งสองอยู่ภายนอกพระราชวัง รวมทั้งให้รื้อตำหนักแดงซึ่งเคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชในพระราชวังเดิม ไปปลูกสร้างให้ เป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราช (ศรี) ที่วัดบางหว้าใหญ่ (วัดระฆังโฆสิตาราม) และโปรดเกล้าฯ ให้พระราชวงศ์ชั้นสูง ที่ได้รับความไว้วางพระราชหฤทัย มาประทับที่ พระราชวังเดิม เนื่องจากพระราชวังเดิมและกรุงธนบุรีมีความสำคัญทางด้านยุทธศาสตร์ จึงจำเป็นต้องมีผู้ดูแลรักษา


 
พระบรมวงศานุวงศ์ที่ได้โปรดเกล้าฯ ให้มาประทับที่พระราชวังเดิมมีดังนี้คือ

 สมัยรัชกาลที่ 1
 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช


เจ้าฟ้ากรมหลวงธิเบศร์บดินทร์
สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร

พ.ศ. 2325-2328
พ.ศ. 2328-2352

 สมัยรัชกาลที่ 2
 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย



สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรี
สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ามงกุฏ


พ.ศ. 2354-2365
พ.ศ. 2366-2367

 สมัยรัชกาลที่ 3
 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว



สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ
เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศเรศรังสรรค์

พ.ศ. 2367-2394

 สมัยรัชกาลที่ 4
 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว



สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ
กรมหลวงวงศาธิราชสนิท


พ.ศ. 2394-2413

 สมัยรัชกาลที่ 5
 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว



สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ
เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมีกรมพระจักรพรรดิพงศ์



พ.ศ. 2424-2443
 
 
 
 

พระบาทสมเด็จ
พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
 

พระบาทสมเด็จ
พระพุทธเลิศหล้านภาลัย
(สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร)

 

พระบาทสมเด็จ
พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
 

พระบาทสมเด็จ
พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
(สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ามงกุฏ)
             
 
 
 

พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
(สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศเรศรังสรรค์)
 

พระบาทสมเด็จ
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
 

สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ
กรมหลวงวงศาธิราชสนิท
 

สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ
เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี
กรมพระจักรพรรดิพงศ์


 

นอกจากนี้ พระราชวังเดิมยังเป็นสถานที่ที่พระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรี 3 พระองค์ ทรงมีพระราชสมภพ ซึ่งทุกพระองค์เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (ขณะยังทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร) ได้แก่ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว

 
           
 
 
 
     
 
   
 

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชสมภพ
เมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2330

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชสมภพ
เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347

พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชสมภพ
เมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2351

 

เดิมเพื่อให้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนนายเรือ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานให้ตั้งแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2443 โดยทรงมีพระราชกระแสให้รักษาซ่อมแซมสิ่งที่ปลูกสร้างที่มีมาแต่เดิม ได้แก่ ท้องพระโรง, ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช, พระตำหนักของสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว และศาลศีรษะปลาวาฬ


โรงเรียนนายเรือตั้งอยู่ที่พระราชวังเดิมเรื่อยมาจนกระทั่งในปี พ.ศ. 2487 จึงได้ย้ายไปอยู่ที่สัตหีบชั่วคราวในช่วงเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 และในปี พ.ศ. 2489 ได้ย้ายไปอยู่ที่เกล็ดแก้วก่อนจะย้ายมาตั้งที่สมุทรปราการ ในปี พ.ศ. 2495 จนถึงปัจจุบัน ส่วนอาคารเดิมของโรงเรียนนายเรือที่พระราชวังเดิมนั้น


กองทัพเรือได้ดัดแปลงเป็นอาคารแบบทรงไทย แล้วใช้เป็นที่ตั้งของกองบัญชาการกองทัพเรือจนถึงปัจจุบัน สำหรับโบราณสถานที่ปรากฏให้เห็นในปัจจุบัน ได้แก่ ท้องพระโรง พระตำหนักเก๋งคู่ ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช, พระตำหนักสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว และป้อมวิไชยประสิทธิ์ ซึ่งได้รับการบูรณะ ครั้งล่าสุดตั้งแต่ปี พ.ศ.2538 และเสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ.2545 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2545

   
 
 
 
มูลนิธิอนุรักษ์โบราณสถานในพระราชวังเดิม
กองบัญชาการกองทัพเรือ
Copyright @ 2013 http://www.wangdermpalace.org